เปิดตำรา ! 5 สมุนไพรไทย ที่ใช้ได้ทุกฤดูกาล

สมุนไพรไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ใช้ในการรักษาโรคและดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะตามฤดูกาลที่มีผลต่อความสมดุลธาตุในร่างกาย ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย 

ฤดูกาลแบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลัก :

ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู) : ฤดูแห่งความร้อนกระวนกระวาย จากอิทธิพลความร้อนภายนอก ส่งผลให้มีอาการเจ็บป่วย ใช้ “ตรีผลา” ซึ่งประกอบด้วย ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย และลูกมะขามป้อม ช่วยแก้ปัญหาปิตตะ (ธาตุลม) และวาตะ (ธาตุไฟ)
ฤดูฝน (วสันตฤดู) : ฤดูที่ชุกไปด้วยฝน การหมุนเวียนของเลือดลมในร่างกายไม่เป็นปกติ แนะนำ “ตรีกฏุก” ที่มี เหง้าขิง เมล็ดพริกไทย และดอกดีปลี เพื่อแก้วาตะ (ธาตุไฟ) และเสมหะ (ธาตุน้ำ)
ฤดูหนาว (เหมันตฤดู) : ฤดูที่น้ำค้างตกลง ร่างกายมีการปรับตัวอย่างมากจากสภาพอากาศทำให้เกิดภาวะการเจ็บป่วยหรือโรคภัยไข้เจ็บตามฤดูตามมาได้ ใช้ “ตรีสาร” ประกอบด้วย รากเจตมูลเพลิงแดง เถาสะค้าน และรากช้าพลู สำหรับการแก้เสมหะ (ธาตุน้ำ)  และปิตตะ (ธาตุลม)
การปรุงสมุนไพรให้ดื่มเพื่อรักษาสมดุลธาตุ ควรต้มน้ำสมุนไพรและดื่มก่อนอาหาร เช้า-เย็น วันละ 2 ครั้ง โดยเน้นการใช้งานในช่วงเปลี่ยนฤดูและควรหลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน.

ข้อมูลเพิ่มเติม : คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Link : https://www.ttmed.psu.ac.th/th/

 


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,290,190