ประเทศไทยพยายามผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG โดยมีการขับเคลื่อนด้วยกฎหมาย ทั้งการปลดล็อคข้อจำกัดทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการแก้ไขกฎหมายเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการออกกฎหมายใหม่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นการสร้างระบบกลไกการบริหารจัดการที่เอื้ออำนวยการขับเคลื่อน BCG พัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) เพื่อการทดลองทดสอบ (Sandbox) ส่งเสริมการประเมินวัฏจักรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle Assessment)
การปลดล็อคกฎหมายเดิม ประกอบด้วย
- อนุญาตให้ผลิตผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพมูลค่าสูงเพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรม
- ให้ผังเมืองเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ การสร้างไบโอรีไฟเนอรี่ และธุรกิจรีไซเคิล
- อนุญาตให้สามารถขนส่งของเหลือมาเป็นวัตถุดิบในโรงงานได้โดยสะดวก
- การขออนุญาตผลิต และขึ้นทะเบียนอาหารและอาหารสัตว์
- ปรับปรุงนิยาม "พันธุ์พืชพื้นเมือง" ใน พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช เพื่อให้เอื้อต่อการปรับปรุงพันธุ์
- ให้การรับซื้อไฟฟ้าชีวมวลเอื้อต่อการขายไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก
- การบังคับใช้กฎหมายห้ามทิ้งขยะ และของเสียอุตสาหกรรมสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
- การบังคับใช้กฎหมายห้ามทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างเคร่งครัด
การเร่งผลักดันกฎหมายใหม่ ประกอบด้วย
- การส่งเสริมการใช้ และควบคุมกำกับการปลดปล่อยของเสียจากโรงงานที่ใช้จีเอ็ม
- การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย และนวัตกรรม
- การกำกับดูแลรักษาด้วยเซลล์บำบัดที่เอื้อต่อการวิจัยและพัฒนา และการนำวิธีการรักษาไปให้บริการผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
กำหนดมาตรฐานและการรับรองคุณภาพด้าน BCG ที่ชัดเจน ประกอบด้วย
- ฉลากผลิตภัณฑ์จากเศรษฐกิจชีวภาพ และเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นจากผลงานวิจัยในประเทศ
- มาตรฐานการรีไซเคิล และการออกแบบสินค้าที่เอื้อต่อการรีไซเคิล
- มาตรฐานบรรจุภัณฑ์มูลค่าสูงจากพลาสติกรีไซเคิลสำหรับบรรจุเครื่องดื่ม และอาหาร
- ระบบการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อป้องกันการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
- กำหนดคุณภาพเชื้อเพลิงชีวภาพ B100 ให้ได้มาตรฐานสากล
- ฉลากผลิตภัณฑ์ ข้อมูล วิธีการจัดการรีไซเคิลตามประเภทวัสดุ
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2564-7000