ความตกลงการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทย - เมียนมา

ความตกลงการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทย – เมียนมา

     ไทยและเมียนมา มีความสัมพันธ์ทั้งด้านการค้าและการทูตมาอย่างยาวนาน ที่ผ่านมามีการเดินทางติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนแรงงานซึ่งกันและกัน เนื่องด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นประเทศใกล้เคียงกัน ทำให้ช่องทางบกเป็นอีก 1 ช่องทางที่ได้รับความนิยมของคน 2 ฝั่งประเทศ ในการเดินทางข้ามแดนระหว่างกันและกัน จึงเกิดเป็นความตกลงระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาล แห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสองเกิดขึ้น โดยถูกลงนามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ.2016 หรือ พ.ศ. 2559

เอกสารที่ใช้ ในการผ่านแดน ประกอบด้วย

     1. หนังสือเดินทาง (Passport)
     2. บัตรผ่านแดน (Border Pass)
     3. บัตรผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass)

ผู้มีอำนาจออกบัตรผ่านแดน คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอชายแดนที่ระบุ ในความตกลงฯ
ผู้มีสิทธิขอบัตรผ่านแดน คือ ประชาชนไทยและเมียนมา ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดน เป็นการถาวรที่ระบุใน ความตกลงฯ

เงื่อนไขการผ่านแดน

     1. บัตรผ่านแดนใช้เข้า - ออก ณ จุดผ่านแดนถาวร ครั้งละ ไม่เกิน 2 สัปดาห์
     2. บัตรผ่านแดนชั่วคราวครั้งละ ไม่เกิน 1 สัปดาห์
     3. บัตรผ่านแดนกรณีวัตถุประสงค์ เพื่อการทำงานในลักษณะ ไป – กลับ หรือตามฤดูกาล ครั้งละไม่เกิน 30 วัน

เฉพาะจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร มีระยะเวลาพำนักได้ครั้งละไม่เกิน 4 วัน (พักค้างได้ 3 คืน) หนังสือเดินทาง (Passport) ใช้เดินทางเข้าออก ณ จุดผ่านแดนถาวร เข้าไปได้ทั่วประเทศ มีระยะเวลาตามที่ประเทศนั้น ๆ กำหนด

การต่ออายุ บัตรผ่านแดน

     ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี และสามารถต่ออายุ ครั้งละไม่เกิน 2 ปี

พื้นที่อนุญาต เฉพาะพื้นที่ชายแดน แนบท้าย ความตกลงฯ ได้แก่
พื้นที่ชายแดนไทย

     1. จุดผ่านแดนแม่สาย (อ.แม่สาย อ.แม่จัน และ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย)
     2. จุดผ่านแดนแม่สอด (อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด และ อ.พบพระ จ.ตาก
     3. จุดผ่านแดน พุน้ำร้อน (อ.เมือง กาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี)
     4. จุดผ่านแดนระนอง (อ.เมืองระนอง จ.ระนอง)

พื้นที่ชายแดนเมียนมา

     1. ท่าขี้เหล็ก
     2. เมียวดี
     3. ทิกิ
     4. เกาะสอง

ที่มา : กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ถนนอัษฎางค์ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร 0 2224 6190 /1
ข้อมูล ณ วันที่ 28 มกราคม 2565
ข้อมูลเพิ่มเติม


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,291,268