ความตกลงการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทย – กัมพูชา
ปัจจุบัน ไทยและกัมพูชา มีการแลกเปลี่ยนแรงงานซึ่งกันและกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งอัตราการท่องเที่ยวระหว่าง 2 ประเทศขยายตัว เนื่องจากมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่เชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่ มักเลือกประเทศไทยเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวเส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะเดินทางต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นสิ่งสำคัญของทั้ง 2 ประเทศ
ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง มีการลงนามในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ.2015 หรือ พ.ศ. 2558
เอกสารที่ใช้ ในการผ่านแดน ประกอบด้วย
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2. บัตรผ่านแดน (Border Pass)
3. ไม่มีบัตรผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass)
ผู้มีอำนาจออกบัตรผ่านแดน คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอชายแดนที่ระบุ ในความตกลงฯ
ผู้มีสิทธิขอบัตรผ่านแดน คือ ประชาชนไทยและกัมพูชา ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดน เป็นการถาวรที่ระบุใน ความตกลงฯ
เงื่อนไขการผ่านแดน
1. บัตรผ่านแดนเป็นระยะเวลา 7 วัน ไม่เกิน 15 วัน
2. บัตรผ่านแดนกรณี วัตถุประสงค์เพื่อการทำงานใน ลักษณะไป – กลับ หรือตามฤดูกาล ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
หนังสือเดินทาง (Passport) ใช้เดินทางเข้าออก ณ จุดผ่านแดนถาวร เข้าไปได้ทั่วประเทศ มีระยะเวลาตามที่ประเทศนั้น ๆ กำหนด
การต่ออายุ บัตรผ่านแดน
ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี และสามารถต่ออายุครั้งละไม่เกิน 2 ปี
พื้นที่อนุญาต ทั้งจังหวัด (เฉพาะ จ.สระแก้ว เดินทางได้ถึง จ.ปราจีนบุรี) ได้แก่
พื้นที่ชายแดนไทย (จังหวัด) - พื้นที่ชายแดนกัมพูชา (จังหวัด)
1. อุบลราชธานี - พระวิหาร
2.ศรีสะเกษ - อุดรเมียนเจย
3. สุรินทร์ – อุดรเมียนเจย
4. สระแก้ว - บันเตียเมียนเจย พระตะบอง
5.จันทบุรี - พระตะบอง ไพลิน
6. ตราด - เกาะกง พระตะบอง โพธิสัต
7. บุรีรัมย์ - อุดรเมียนเจย
ที่มา : กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ถนนอัษฎางค์ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร 0 2224 6190 /1
ข้อมูล ณ วันที่ 28 มกราคม 2565
ข้อมูลเพิ่มเติม