ความตกลงการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทย – มาเลเซีย
ปัจจุบันการค้าชายแดนมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมาเลเซีย ถือเป็นอีก 1 ประเทศที่สำคัญ ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย จนทำให้เกิดเศรษฐกิจชายแดนที่คึกคัก ขณะที่ทั้ง 2 ประเทศยังมีการแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญระหว่างกันตลอดเวลา อาทิ น้ำมันดิบ สินค้าทางการเกษตร รวมถึงยังมีข้อตกลงเรื่องการขนส่งสินค้าปลอดภาษีบางชนิด หากขนผ่านประเทศมาเลเซียอีกด้วย จึงไม่แปลกใจที่เส้นทางบก ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นช่องทางหลักอีก 1 ช่องทางในการเชื่อมโยงของสองประเทศ และก่อให้ความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างกัน
ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซียว่าด้วยการเดินทางข้ามแดน ถูกลงนามในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2013 หรือ พ.ศ. 2556
เอกสารที่ใช้ในการผ่านแดน ประกอบด้วย
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2. บัตรผ่านแดน (Border Pass)
3. ไม่มีบัตรผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass)
ผู้มีอำนาจออกบัตรผ่านแดน คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอชายแดนที่ระบุ ในความตกลงฯ
ผู้มีสิทธิขอบัตรผ่านแดน คือ ประชาชนไทยและมาเลเซีย โดยเกิดหรืออาศัยอยู่บนพื้นที่ชายแดนของประเทศตน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี
เงื่อนไขการผ่านแดน บัตรผ่านแดน ไม่เกิน 30 วัน
ทั้งนี้ หนังสือเดินทาง (Passport) ใช้เดินทางเข้าออก ณ จุดผ่านแดนถาวร เข้าไปได้ทั่วประเทศ มีระยะเวลาตามที่ประเทศนั้น ๆ กำหนด
อายุ/การต่ออายุ บัตรผ่านแดน
มีอายุใช้ได้ 1 ปี
พื้นที่อนุญาต ทั้ง 5 จังหวัดชายแดนของไทย ได้แก่
พื้นที่ชายแดนไทย (จังหวัด) – พื้นที่ชายแดน มาเลเซีย (รัฐ)
1. สงขลา - รัฐเกดะห์ รัฐเปอร์ลิส
2. สตูล - รัฐเกดะห์ รัฐเปอร์ลิส
3. ยะลา - รัฐเกดะห์ รัฐเปรัค
4. นราธิวาส - รัฐกลันตัน
5. ปัตตานี
ที่มา : กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ถนนอัษฎางค์ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร 0 2224 6190 /1
ข้อมูล ณ วันที่ 28 มกราคม 2565
ข้อมูลเพิ่มเติม