ความตกลงการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทย - ลาว
ไทยและลาว เป็นประเทศเพื่อนที่ใกล้ชิดกัน เพราะมีเอกลักษณ์ทางด้านภาษา อาหาร และวัฒนธรรม ที่มีความใกล้เคียงกัน จนเกิดสะพานมิตรภาพเพื่อใช้ข้ามแดนผ่านแม่น้ำโขงในหลายจังหวัด เนื่องด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นประเทศที่มีแผ่นดินติดกัน ทำให้ช่องทางบก เป็นอีก 1 ช่องทางที่ได้รับความนิยมของคน 2 ฝั่งประเทศ ในการเดินทางข้ามแดนระหว่างกันและกัน จนเกิดเป็นความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถูกลงนาม ในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ.1997 หรือ พ.ศ. 2540
เอกสารที่ใช้ในการผ่านแดน ประกอบด้วย
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2. บัตรผ่านแดน (Border Pass)
3. บัตรผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass)
ผู้มีอำนาจออกบัตรผ่านแดน คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอชายแดนที่ระบุ ในความตกลงฯ
ผู้มีสิทธิขอบัตรผ่านแดน คือ ประชาชนไทยและลาว ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนเป็นการถาวรที่ระบุในความตกลงฯ
เงื่อนไขการผ่านแดน
1. บัตรผ่านแดน ครั้งละไม่เกิน 3 วัน 2 คืน
2. บัตรผ่านแดนชั่วคราว ครั้งละไม่เกิน 3 วัน 2 คืน
ทั้งนี้ หนังสือเดินทาง (Passport) ใช้เดินทางเข้าออก ณ จุดผ่านแดนถาวร เข้าไปได้ทั่วประเทศ มีระยะเวลาตามที่ประเทศนั้น ๆ กำหนด
อายุ/การต่ออายุ บัตรผ่านแดน
ใช้ได้ไม่เกิน 1 ปี และสามารถต่ออายุครั้งละไม่เกิน 1 ปี
พื้นที่อนุญาต
ทั้งจังหวัดและแขวงชายแดน แนบท้ายความตกลงฯ (เฉพาะ จ.หนองคาย เดินทางได้ถึง อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี) ได้แก่
พื้นที่ ชายแดนไทย (จังหวัด) และพื้นที่ชายแดน สปป.ลาว (แขวง)
ที่มา : กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ถนนอัษฎางค์ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร 0 2224 6190 /1
ข้อมูล ณ วันที่ 28 มกราคม 2565
ข้อมูลเพิ่มเติม