4 ขั้นตอนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวในเมือง

     รู้หรือไม่ว่านักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในประเทศไทย สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ โดยการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวในเมืองมี 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

     1. ซื้อสินค้าที่ร้านค้ามีตราสัญลักษณ์, ซื้อสินค้าจากร้านค้าแห่งเดียวกันในแต่ละวันโดยมีมูลค่าของสินค้าที่ซื้อไม่น้อยกว่า 2,000 บาท, ขอคำร้องภาษี (แบบ ภ.พ.10) และต้นฉบับใบกำกับภาษีจากร้านค้าในวันที่มีการซื้อสินค้า, กรณีเป็นสินค้าที่สามารถบริโภคได้ในราชอาณาจักร สินค้าต้องได้รับบรรจุหีบห่อ (Seal) ผนึกในลักษณะมั่นคง และให้มีข้อความ “No Consumption made Whilst in Thailand”

     2. ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในเมืองกับตัวแทนที่ได้รับอนุญาต

 2.1 ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ขอคืน
 2.2 ยอดมูลค่าการขอคืนไม่เกิน 30,000 บาทพร้อมประกันวงเงินภาษีที่ขอคืน
 2.3 เดินทางออกนอกราชอาณาจักรทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (ภายใน 14 วันนับตั้งแต่วันที่ยื่นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในเมือง)
 2.4 นำสินค้าออกนอกราชอาณาจักรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ซื้อสินค้าเป็นวันแรก

     3. ตรวจรับรองสินค้า ณ เคาน์เตอร์ศุลกากร โดยในวันที่ เดินทางออกนอกราชอาณาจักรก่อน check-in ต้องนำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) พร้อมต้นฉบับใบกำกับภาษี และสินค้าที่ซื้อทั้งหมดตั้งแต่ 5,000 บาท ต่อนักท่องเที่ยว 1 ราย และต่อทริปการเดินทางนั้นๆ ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ที่มีกล่องคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Drop box) ติดตั้งไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานศุลกากร ประทับรับรองในคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10)

     4. กล่องรับแบบคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Drop box) มีข้อสังเกตก่อนหย่อนกล่อง กรณีสินค้าที่ซื้อเป็นสินค้าประเภทอัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกาแว่นตา ปากกาโทรศัพท์แบบพกพา หรือสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าเข็มขัด ที่มีมูลค่าของสินค้าแต่ละชิ้น ตั้งแต่ 10,000 บาท หรือสินค้าที่สามารถนำติดตัวไปพร้อมการเดินทางที่มีมูลค่าของสินค้าต่อชิ้น ตั้งแต่ 50,000 บาท ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรต้องแสดงสินค้าดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ณ จุดบริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตั้งอยู่ภายหลังพิธีการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อประทับรับรองการมีสินค้าลงในคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10

ข้อมูลเพิ่มเติม

 


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,293,802