องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ครั้งที่ 216 ณ องค์การยูเนสโก สำนักงานใหญ่ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส รับรองให้ โคราชจีโอพาร์ค (KHORAT Geopark) จังหวัดนครราชสีมา เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark) ถือเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งที่ 2 ของประเทศไทย
และทำให้จังหวัดนครราชสีมา สร้างประวัติศาสตร์ เป็นเมืองแห่ง 3 มงกุฎ หรือทริปเปิลคราวน์ (Triple Crown) ถือเป็นเมืองที่ 4 ของโลก ต่อจากอิตาลี เกาหลีใต้ และจีน ที่มีดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก ในจังหวัดเดียวกัน
ประกอบด้วย
สำหรับโคราชจีโอพาร์ค มีความแตกต่างจากจีโอพาร์คโลก ที่มีอยู่ 177 แห่งทั่วโลก คือ เป็นดินแดนแห่งเควสตาและ ฟอสซิล (Cuesta & Fossil Land) ที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และวิถีชีวิตผู้คนกว่า 4,000 ปี ในพื้นที่ภูมิศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำลำตะคองตอนกลางถึงตอนล่าง
หัวใจสำคัญ คือ เป็นพื้นที่ภูมิประเทศ และแหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมทั้งแหล่งธรรมชาติอื่น ๆ และวัฒนธรรมสำคัญ ที่สัมพันธ์กับแหล่งธรณีวิทยา และมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม ทั้งการอนุรักษ์ ศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมบริหารจัดการเชื่อมโยงเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น
สำหรับอุทยานธรณีโคราชมีพื้นที่ทั้งหมด เท่ากับ 3,167.38 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีแหล่งธรณีวิทยา 25 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม 10 แห่ง และเป็นแหล่งซากช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุลสุดในโลก มีการตกตะกอนทับถมของแม่น้ำมากกว่า 150 ล้านปีก่อน พร้อมกับฝูงไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมสมัย จนถึงยุคสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หลากหลาย และต่อมาเป็นประตูสู่แดนอีสานและอินโดจีน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ขนส่ง อุตสาหกรรม การค้า และการท่องเที่ยว และอาจเรียกได้ว่าโคราชจีโอพาร์คเป็น “ดินแดนแห่งเควสตาและฟอสซิล” ที่สมบูรณ์แบบจนได้รับจากยูเนสโกรับรองให้ โคราชจีโอพาร์ค เป็นอุทยานธรณีโลก