ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ BCG Model ด้านการเกษตร

         การเกษตรเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่ต้องเร่งพัฒนาให้มีความแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น โดยการใช้แผนการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG  ที่เน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ และยั่งยืน เศรษฐกิจแข็งแรงควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดสำคัญในการปรับเปลี่ยนภาคเกษตรไปสู่ระบบการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อแข่งขันในเวทีโลกและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ดังนี้ 

  • เพิ่ม GDP สาขาเกษตรจาก 1.3 ล้านล้านบาท เป็น 1.7 ล้านล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัว ของ GDP ภาคเกษตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และสัดส่วนของสินค้าเกษตรมูลค่าสูง สินค้าพรีเมี่ยม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 
  • รายได้ครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 100,000 บาท/ครัวเรือน/ปี 
  • ผลผลิตเกษตรได้รับการรับรอง GAP เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 1 เท่าตัว 
  • การเผาเศษวัสดุทางการเกษตรลดเหลือศูนย์ในพืชสำคัญ ได้แก่ อ้อย และข้าว
  • ผลผลิตเกษตรมีความปลอดภัย 
  • ประเทศไทยเป็นผู้กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรในกลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยเป็นผู้นำ หรือมีความเป็นอัตลักษณ์ 
  • ปัจจัยการผลิตพื้นฐานด้านการเกษตรคุณภาพดีมีปริมาณเพียง เช่น เมล็ดพันธุ์ดี สารชีวภัณฑ์กําจัดศัตรูพืช วัคซีนป้องกันโรค 
  • เกษตรกรเข้าถึง และใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว

         ทั้งนี้ก็เพื่อให้การพัฒนาภาคการเกษตรภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมีคุณภาพ และยั่งยืน ประชาชนมีรายได้ดี รักษา และฟื้นฟูฐานทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เบอร์โทรศัพท์ :  0-2564-7000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,282,734