นอกจากการเน้น BCG Model ในสาขาอุตสาหกรรมอาหารเดิม อุตสาหกรรมอาหารใหม่ ทางประเทศไทยเองยังต้องการที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน และอาหารริมทาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อสำหรับนักท่องเที่ยวในไทย
อาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กในระดับท้องถิ่น/ชุมชน หรือเป็นผู้ประกอบการอาหารริมทาง (Street Food) แต่อาหารในกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แสดงถึงวัฒนธรรมประจําถิ่น สร้างอัตลักษณ์ให้กับอาหารไทยที่หาจากที่อื่นไม่ได้ อาหารกลุ่มนี้จึงมีความสําคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารไม่แพ้อุตสาหกรรมอาหารเดิม และอุตสาหกรรมอาหารใหม่
แม้ว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้จะมีขนาดเล็กแต่กลับมีจํานวนมาก และเป็นผู้ประกอบการด้านอาหารที่กระจายตัวอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดังนั้นแนวทางการพัฒนาหลักมุ่งเน้นการส่งเสริม และยกระดับผู้ประกอบการ ให้สามารถควบคุมมาตรฐานการผลิตได้ การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ถูกสุขลักษณะ
ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องการรักษาอัตลักษณ์ประจำถิ่น การสร้างแบรนด์ การเชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สร้างระบบการตลาดระดับท้องถิ่นเชื่อมกับการท่องเที่ยว สร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น สร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้ง Product, Process, Service Innovation และ Design
ที่มา: สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เบอร์โทรศัพท์: +66 2 564 8000