การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และสุขภาพ

ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ของโลก จากนโยบายภาครัฐที่มุ่งส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ตั้งแต่ปี 2546 ส่งผลให้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และสุขภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ The International Healthcare Research Center จัดให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยอยู่อันดับ 6 ของโลกในปี 2560 และมีนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 38% ของเอเชีย ขณะที่ The Medical Travel Quality Alliance จัดให้โรงพยาบาลแห่งหนึ่งของไทยเป็น 1 ใน 5 สถานพยาบาลที่ดีที่สุดระดับโลกสําหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ขณะที่ Global Wellness Institute (GWI) จัดอันดับตลาดการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุว่า ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพสูงสุดเป็นอันดับ 4 รองจากประเทศญี่ปุ่น จีน และอินเดีย เนื่องจากไทยมีจุดแข็งในด้านวัฒนธรรมประเพณี มีนวดแผนไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีมูลค่าทางตลาดสูง และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีมูลค่าประมาณ 41,000 ล้านบาท ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจึงเป็นแรงดึงดูดที่สําคัญให้นักท่องเที่ยวกลับเข้ามายังประเทศไทย

เพื่อให้ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสร้างมูลค่าเพิ่ม และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน จําเป็นต้องมีระบบเชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เช่นเดียวกับเมืองใหญ่ โดยการจัดระบบให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางไปพักผ่อนในรูปแบบท่องเที่ยวส่งเสริมสุขภาพ หลังจากได้รับการรักษาพยาบาลแล้ว หรือท่องเที่ยวพักผ่อนตั้งแต่ช่วงเตรียมตัวก่อนเข้าการรักษาพยาบาล สามารถได้ท่องเที่ยวในทุกจังหวัด/ภูมิภาค หรือเมืองรองอื่น ๆ ผ่านแนวคิด “กินดี-อยู่ดี-ออกกําลังกายดี-แบ่งปันสิ่งดี ๆ”

ขณะเดียวกันเพื่อให้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และสุขภาพประสบความสําเร็จ และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย BCG Model ประเทศไทยจําเป็นต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และสร้างกลไกสําคัญที่จําเป็นสำหรับการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ ดังนี้

1.โครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยง

การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพร่วมกันจําเป็นต้องเชื่อมโยงการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์แผนไทย หรือที่เรียกว่า
การแพทย์แผนไทยประยุกต์” คือ นําความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาพัฒนา และประยุกต์ใช้ เพื่ออธิบายการรักษาการแพทย์แผนไทยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การใช้หัตถการ เช่น นวดไทย ประคบสมุนไพร การอบไอน้ำ รวมถึงการให้คําแนะนําเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ส่วนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานควรมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางคมนาคม ระบบขนส่งสาธารณะที่อํานวยความสะดวกในการเดินทางเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรอง

2.ยกระดับมาตรฐาน ความสะอาด ความสะดวก และปลอดภัย

การเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในการเดินทางและพักผ่อนในประเทศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการติดตาม และเฝ้าระวังผ่านระบบ Application ที่ลงทะเบียนไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตรวจสอบการเดินทางและการกักกันได้หากมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 

3.ความยั่งยืน

การส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรม (Green Supply Chain) คือ ตั้งแต่การเดินทาง ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก ร้านค้าของที่ระลึก ครอบคลุมถึงผู้จําหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) ให้แก่ผู้ประกอบการ เช่น วัตถุดิบอาหารที่เป็นเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย การใช้วัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่นหรือชุมชนใกล้แหล่งท่องเที่ยว สร้างระบบฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ (Big Data) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
สร้างกลยุทธ์แหล่งท่องเที่ยว สร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว รวมถึงพัฒนาระบบข้อมูลการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ ปัญหาขยะ

4.การสื่อสาร

สิ่งสําคัญของการสร้างให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมีการเติบโตได้อย่างยั่งยืน คือการ “สร้างแบรนด์ ความเป็นไทย และการพัฒนาอัตลักษณ์ของท้องถิ่น” เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของการท่องเที่ยวไทย และการสื่อสารให้นักท่องเที่ยวทราบถึงมาตรฐานของประเทศเป็นมาตรฐานที่อ้างอิงมาตรฐานสากลและเชื่อถือได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวเดินทางกลับมาเที่ยวพักผ่อนอีกครั้ง และมีการบอกต่อส่งผ่านประสบการณ์ ผ่านคนรู้จักหรือ
Social Network รูปแบบต่าง ๆ 

ที่มา: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
เบอร์โทรศัพท์ :+66 2 193 7000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,283,442