ความสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารในรูปแบบ BCG Model

          อุตสาหกรรมอาหาร เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และยังมีมูลค่าอันดับต้น ๆ ของโลก ในประเทศไทยถือว่าเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ จะเห็นได้จากภาคการเกษตรป้อนวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมอาหาร โดยใน
ปี 2562 ภาคการผลิตอาหารมีมูลค่า 6.38 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 ของ GDP และมูลค่าส่งออกสูงถึง 1.11 ล้านล้านบาท และยังเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 11 ของโลก และหากต้องการยกระดับอุตสาหกรรมทั้งระบบด้วยแนวความคิด BCG Model จำเป็นต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารให้มี
การพัฒนาแบบยั่งยืน โดยแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG จะต้องอาศัยเครื่องมือหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 

  1. การประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศด้วยเทคโนโลยี และการบริหารจัดการที่เหมาะสม ทั้งนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมการผลิต และนวัตกรรม

  2. การพัฒนาและปรับปรุงกฏระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อให้เหมาะสม และทันต่อความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบันและอนาคต ในขณะเดียวกันต้องมีการสร้างสมดุลระหว่างการสร้างมาตรฐานใหม่ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค กับการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ

  3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ และจำเป็นต่อการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารของไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดกลาง หรือขนาดเล็กที่ยังขาดเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เบอร์โทรศัพท์: +66 2 564 8000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,294,525