สำหรับเป้าหมายในการขับเคลื่อน BCG สาขาเครื่องมือแพทย์ เป็นหนึ่งในนโยบายรัฐบาลในขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยในช่วงปี 2564-2568 อันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ “เพิ่มการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์จากบัญชีนวัตกรรมไทยอย่างน้อย 30% ของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยนวัตกรรมและผลิตในประเทศ หรือสร้างรายได้และผลกระทบทางเศรษฐกิจประมาณ 40,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี” โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ไทยที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับจากแพทย์และประชาชน ลดการนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์จากต่างประเทศ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ SMEs รวมทั้งกระจายโอกาส และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในการเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน
วัตถุประสงค์หลักคือ
1) สร้างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์ในประเทศ เพื่อสนับสนุนนโยบาย Medical hub
2) ยกระดับความสามารถด้านการวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ภาคการผลิตและบริการไทย ด้วยการสนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ของคนไทยที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล และสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางสาธารณสุข
3) เพิ่มโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าถึงเครื่องมือแพทย์ที่มีราคาถูก และมีมาตรฐาน อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
แบ่งออกเป็น 5 กลยุทธ์ ในการขับเคลื่อน คือ
กลยุทธ์ 1 สร้างดุลยภาพของอุปสงค์-อุปทาน (Supply-Demand) โดยอาศัยกลไกนวัตกรรมแบบวิศวกรรมย้อนกลับ
กลยุทธ์ 2 เตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาด ด้านคุณสมบัติ (Specification)/ มาตรฐาน/ราคา) โดยขยายผลผ่านกลไกนวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ และส่งเสริมตลาดภาครัฐผ่านบัญชีนวัตกรรมไทย
กลยุทธ์ 3 ลดภาษีการนำเข้าชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่ใช้ในเครื่องมือแพทย์เป็น 0% และสนับสนุนการต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ (Technology Localization)
กลยุทธ์ 4 พัฒนาศักยภาพบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 5 จัดให้มีเจ้าภาพที่ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรเพียงพอ เพื่อให้เกิดการบูรณาการและการสร้างเครือข่ายระหว่าง Stakeholders
ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เบอร์โทรศัพท์: +66 2 564 8000