เป้าหมายการพัฒนาการท่องเที่ยวตามแบบ BCG Model

   

ภาคท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในสาขายุทธศาสตร์เป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ที่จําเป็นต้องเร่งพัฒนาให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นกิจกรรมเศรษฐกิจที่ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างงาน และกระจายรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นโดยตรง แต่ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรม รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติจํานวนมากในการดึงดูด และสร้างความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยว 

    ดังนั้น การพัฒนาภาคท่องเที่ยวด้วย BCG Economy Model จึงมุ่งเน้นให้เกิดการเติบโตของภาคท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม และคํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำและมีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงไปสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน หรือในเมืองท่องเที่ยวรอง เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 18 ของ GDP โดยตั้งเป้าความสำเร็จในระยะ 5 ปี ดังนี้

รายได้จากการท่องเที่ยวเมืองรองเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี
รายได้จากการท่องเที่ยวมาจากกิจกรรมในท้องถิ่น ได้แก่ ที่พัก อาหาร สมุนไพร สินค้าคุณภาพจากท้องถิ่น
รายได้ และการจ้างงานในชุมชนเพิ่มขึ้นผ่านกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบ
แหล่งท่องเที่ยวได้รับมาตรฐานความยั่งยืนระดับสากล
การท่องเที่ยวเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย “ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม”
    นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ ที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ ชุมชน และท้องถิ่น ภายใต้แบรนด์

“เที่ยวอย่างมั่นใจ สนุกและปลอดภัย” โดยมีแนวทางคือ โมเดลอารมณ์ดีมีความสุข หรือ Happy Model ซึ่ง ประกอบด้วย 

            1. กินดี คือ การได้รับประทานอาหารสะอาด มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ปลอดสารพิษ และเป็นอาหาร ท้องถิ่นที่คัดสรรจากชุมชน 

            2. อยู่ดี คือ การได้เข้าพักในที่พักที่ได้มาตรฐาน สะอาด มีสิ่งแวดล้อมที่ดีมีสิ่งอํานวยความสะดวก รวมถึง Wi-Fi พร้อมทั้งมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 

            3. ออกกําลังกายดี คือ การได้เข้าร่วมกิจกรรมกีฬา และสันทนาการต่าง ๆ

            4. แบ่งปันสิ่งดี ๆ คือ การได้แบ่งปันความรู้แนะนําสิ่งดี ๆ ทำกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่น เรียนรู้ ประสบการณ์จากปราชญ์ชาวบ้าน

ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เบอร์โทรศัพท์: +66 2564-7000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,282,527