พื้นที่นวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย

        การสนับสนุนพื้นที่นวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ภาคธุรกิจที่เข้าใช้พื้นที่ทั้งเอกชนไทยและต่างประเทศ ราว 70% ใน 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย รองรับกิจกรรมวิจัย และพัฒนานวัตกรรมของทุกภาคส่วน ได้แก่ พื้นที่รองรับการดำเนินกิจกรรมวิจัยพัฒนาของภาคเอกชน ศูนย์พัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups and Innovation Center) แหล่งรวมศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ และโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure) รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์
(Translational Research Infrastructure) เช่น โรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) โรงงานสาธิต (Demonstration Plant) พื้นที่ทดลองผลิตและพื้นที่ทดสอบ
ตลาด (Living Lab) และยังมีที่พักอาศัย สถานที่พบปะสังสรรค์ สถานที่ออกกำลังกาย พื้นที่สีเขียวเพื่อความยั่งยืน โรงแรม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ/โรงเรียนสอนภาษา เพื่อรองรับนวัตกร ผู้เชี่ยวชาญไทยและต่างประเทศ เอกชน ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนานวัตกรรมของประเทศไทย

        นอกจากยังมีพื้นที่เมืองแห่งสตาร์ตอัปเฮลท์เทคและเฮลท์แคร์ หรือ ศาลายา สตาร์ตอัป ทาวน์ (Salaya Startup Town) โดยมหาวิทยาลัยมหิดล
ซึ่งมี 5 โรงพยาบาล 2 โรงพยาบาลทันตกรรม และ 2 โรงพยาบาลสัตว์ ได้เตรียมพื้นที่ประมาณ 1.2 หมื่นตารางเมตรสำหรับเป็น Maker Space ศูนย์หุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่มีระบบนิเวศครบวงจร ให้เป็นแพลตฟอร์มด้าน Healthcare โดยเฉพาะที่เชื่อมต่อกับเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเป็นพื้นที่วิจัยพัฒนา และเทคโนโลยีด้านสุขภาพและชีวการแพทย์ที่ก้าวหน้า โดยเน้นการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการตรวจสุขภาพ และบำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องแม่นยำ เช่น หุ่นยนต์ผ่าตัด เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นสมอง แบ่งเป็น

        1) ศูนย์บ่มเพาะ และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม (Innogineer Studio) เป็นพื้นที่ให้ SMEs และนักนวัตกร นักประดิษฐ์ (Maker) เข้ามาคิดค้นโครงการ สร้างชิ้นงาน และต้นแบบจากความคิดสร้างสรรค์

        2) ศูนย์ฝึกหัดด้านหุ่นยนต์ และระบบปัญญาประดิษฐ์ ( Innogineer BAY) ที่ทันสมัยระดับโลก

        3) ศูนย์นิติวิศวกรรม และการสืบค้นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Digital Forensics Lab)

        4) ศูนย์บริการนวัตกรรม และให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจอุตสาหกรรม

        5) ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และชีวการแพทย์ (BART LAB)

        6) ศูนย์นวัตกรรมสังคมสูงวัย และ Smart Home

        7) ห้องปฏิบัติการ และศูนย์วิจัยที่ชำนาญด้านต่าง ๆ

        8) ศูนย์ LogHealth วิจัย และออกแบบพัฒนาระบบโลจิสติกส์โรงพยาบาล และจัดทำแผนแม่บทระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารภาคสาธารณสุขของประเทศ (HealthCare Logistics Big Data)

        9) ศูนย์ทดสอบเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์

      10) UNTIL Thailand ศูนย์ปฏิบัติการนวัตกรรมโดยสหประชาชาติ

      11) ศูนย์หุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูง

ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เบอร์โทรศัพท์: +66 2 564 8000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,285,932