ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ รองรับ BCG Model

          เมื่อเทียบกันแล้วผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพของไทยมีข้อเสียเปรียบกับผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปอยู่มาก เนื่องมาจากผลิตภาพภาคการเกษตรต่ำ (วัตถุดิบมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของต้นทุนการผลิตรวม) และการบริหารจัดการตลอดกระบวนการผลิตที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ชีวภาพสูงกว่าคู่แข่ง “การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ” จึงมีความจำเป็น เพื่อให้การพัฒนาด้านพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ เป็นไปตามแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ดังนี้ 

          - ส่งเสริมให้มีการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับการผลิตในภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การใช้กลไกกำกับและควบคุมพื้นที่เพื่อลดต้นทุน รวมไปถึงการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความหลากหลายทางชีวภาพ และระเบียบการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอย่างเป็นระบบ  

          - ปรับแก้กฎหมายผังเมือง เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งโรงงานด้านพลังงานทดแทนในชุมชน ส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้และสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน

          - เร่งรัดการแยกประเภทโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพออกจากโรงงานผลิตสารเคมี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งโรงงานใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบ

          - การปรับแต่งเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับวัตถุดิบพืชน้ำตาลและแป้ง และวัตถุดิบในรูปของเสียชีวมวล เช่น ทะลายปาล์ม กากมันสำปะหลัง โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ เอนไซม์/จุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน 

          - การปรับแต่งเทคโนโลยีแผงโซลาร์เซลล์ (Solar PV) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า

          - ส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดเอทานอล/ก๊าซชีวภาพเป็นไฟฟ้า

          - ส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดไบโอดีเซลเป็นโอลิโอเคมิคอล

          - ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐาน และแนวทางการทดสอบผลิตผลิตภัณฑ์วัสดุและเคมีชีวภาพ

          - ส่งเสริมการใช้ Smart Grid เพื่อสนับสนุนการสร้างตลาดพลังงานหมุนเวียน


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,284,993