เปิดราคาประเมินที่ดินรอบใหม่ ปี 66-69

      การประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่รอบบัญชี พ.ศ.2566-2569 กรมธนารักษ์เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป หลังจากเลื่อนการประเมินราคามาตั้งแต่ปี 2563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เบื้องต้นราคาเฉลี่ยที่ดินทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 8.93% ส่วนราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างขยายตัว 6.21%

      สำหรับราคาที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ พบราคาปรับขึ้นเฉลี่ย 3% ส่วนใหญ่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้า ราคาประเมินสูงสุดยังคงอยู่ในย่านถนนสีลม ถนนเพลินจิต ถนนวิทยุ และถนนพระราม 1 ตาราวาละ 1,000,000 บาท 

      กรมธนารักษ์ได้พัฒนาระบบตรวจสอบราคาที่ดินสำหรับเผยแพร่ต่อประชาชน ให้มีความทันสมัยและใช้งานได้ง่ายขึ้นจากระบบเดิม ทั้งรูปแบบการแสดงข้อมูล และการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก รวมทั้งมีการแสดงแผนที่ การใช้งานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น ผ่านเว็บไซท์ https://assessprice.treasury.go.th/ สามารถตรวจสอบได้จากเลขที่โฉนด เลขที่ดิน น.ส. 3 ก. ห้องชุด สิ่งปลูกสร้าง และที่ดินประเภทอื่น

      ราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ เป็นการกำหนดราคากลางเพื่อใช้อ้างอิงการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เมื่อมีการซื้อ-ขาย หรือโอนที่ดิน เพื่อใช้คำนวณค่าใช้จ่าย รวมทั้งการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะถูกอ้างอิงราคาตามราคาประเมิน 

สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2566 

1. การประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.01-0.1%

2. ที่อยู่อาศัย อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.02-0.1%

2.1 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.03-0.1%
2.2 สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.02-0.1%
2.3 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกเหนือจาก 2.1 และ 2.2 อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.02-0.1%

3. การใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากข้อ1และข้อ2(เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม) อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.3-0.7%

4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.3-0.7%

      โดยราคาประเมินที่ดินใหม่จะถูกใช้เป็นฐานในการเสียค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ตลอดจนฐานการคำนวณการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนผู้ถือครองที่ดินจำนวนมาก มีบ้านมากกว่า 1 หลังขึ้นไป และกลุ่มผู้เช่าพื้นที่ราชพัสดุต้องเสียภาษี


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,293,969