พิธีการศุลกากรนำของเข้าทางบกกับการชำระค่าภาษีอากร

     ภาษีอากรนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย โดยผ่านพิธีการศุลกากร  ไม่ว่าจะนำเข้ามาทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศ โดยจะมีการเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยอัตราที่กำหนดไว้คือ ราคาสินค้า + ค่าประกันภัย + ค่าขนส่ง รวมกันเกินกว่า 1,500 บาท

     เมื่อผู้นำสินค้าขาเข้าประเทศได้ยื่นข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร และได้รับการตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว ในกรณีที่ต้องมีการชำระค่าภาษีอากร และค่าธรรมเนียมศุลกากร  ผู้นำสินค้าสามารถชำระค่าภาษีอากร และค่าธรรมเนียมศุลกากรได้ 3 ช่องทาง ดังต่อไปนี้ 

     1. ชำระด้วยตนเองที่หน่วยรับชำระเงินทุกแห่งของกรมศุลกากร ทั้งในรูปแบบเงินสด บัตรภาษี บัตรเดบิต บัตรเครดิต และเช็คของผู้ประกอบการที่มีธนาคารค้ำประกัน และได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร
     2. ชำระในระบบ e-Payment คือ การชำระเงินค่าภาษีอากรพร้อมกับการส่งข้อมูลใบขนสินค้า โดยการตัดยอดบัญชีธนาคารของผู้นำของเข้าตามที่ได้แจ้งไว้กับกรมศุลกากร
     3. ชำระในระบบ e-Bill Payment คือ การใช้เอกสารของกรมศุลกากร (เช่น ใบขนสินค้า ใบสั่งเก็บ) ซึ่งมี QR Code หรือ Bar Code หรือเลขอ้างอิงตามที่ปรากฏในเอกสารนั้น ไปชำระ ณ เคาน์เตอร์ของธนาคาร หรือ Internet Banking หรือ ATM หรือช่องทางการรับชำระ

     เงินอื่น ๆ ของธนาคาร หรือ ผ่านตัวแทนรับชำระเงินที่ทำความตกลงกับกรมศุลกากร ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิสของ 7-11 และ บิ๊กซี

     ภายหลังจากผู้นำเข้าสินค้าชำระค่าภาษีอากร และค่าธรรมเนียมศุลกากรแล้วเสร็จ  จึงจะสามารถดำเนินการรับการตรวจปล่อยของออกจากอารักขาของศุลกากร

ข้อมูล ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563
ที่มา : ด่านศุลกากรอรัญประเทศ สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 
โทร. 0 3723 0313 


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,294,360