การสุ่มตรวจศัตรูพืชสำหรับการส่งออกผักและผลไม้ตามข้อตกลงพิเศษ

     ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีผลผลิตทางการเกษตรเกือบตลอดทั้งปี นอกจากบริโภคภายในประเทศแล้วยังส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา โดยผู้ประสงค์จะขอรับการสุ่มตรวจศัตรูพืชสำหรับการส่งออกผักและผลไม้กรณีเงื่อนไขพิเศษต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. กักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. กักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ซึ่งขึ้นอยู่กับรายละเอียดดังนี้ 

  1. การสุ่มตรวจศัตรูพืชสำหรับการส่งออกผักและผลไม้กรณีเงื่อนไขพิเศษ 
  2. ระยะเวลาดำเนินการเริ่มนับตั้งแต่เอกสารที่ยื่นขอใบรับรองสุขอนามัยพืชถูกต้องและครบถ้วน 
  3. ผู้ส่งออกจะต้องยื่นเอกสารคำขอเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจพืชล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ไม่เกิน 5 วันทำการ 
  4. เมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการสุ่มตรวจศัตรูพืชในผักและผลไม้กรณีเงื่อนไขพิเศษผ่านเรียบร้อยแล้วจะแจ้งผู้ส่งออกให้รับทราบ เพื่อให้ผู้ส่งออกดำเนินการขอใบรับรองสุขอนามัยพืชต่อไป

สำหรับการดำเนินการต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้ 

  1. แบบฟอร์มนัดเจ้าหน้าที่เทียบปรับอุณหภูมิตู้ (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ต้นฉบับระบุวัน เวลา สถานที่ และการเดินทางให้ชัดเจน ใช้สำหรับการส่งออกกรณีใช้ความเย็น (Cold treatment) ไปเครือรัฐออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์
  2. แบบฟอร์มนัดเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจพืช (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
  3. แบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืชตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พก.7) (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
  4. หนังสือรับรองการรมเมทิลโบรไมด์ (แบบ กก.2) (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
  5. หนังสือรับรองการเป็นผู้บรรจุสินค้า แบบ กก.3 (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
  6. หนังสือการขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการส่งออกพืชไปประเทศต่างๆ (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ออกให้โดยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ในกรณีรมสารเมทิลโบรไมด์ (Fumigation) ไปสาธารณรัฐเกาหลีและเครือรัฐออสเตรเลีย - ใช้สำหรับกรณีใช้ความเย็น (Cold treatment) ไปเครือรัฐออสเตรเลีย - ใช้สำหรับกรณีฉายรังสี (Irradiation) ไปสหรัฐอเมริกา – ใช้สำหรับกรณีส่งออกพืชก่อนการส่งออกไปเครือรัฐออสเตรเลีย
  7. หนังสือรับรองหลักการที่ดีสำหรับโรงรมเมทิลโบรไมด์ (ฉบับจริง 1 ฉบับ) สำหรับไปสาธารณรัฐเกาหลี เครือรัฐออสเตรเลีย และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
  8. หนังสือรับรองหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุตามข้อกำหนดของกรมวิชาการเกษตร (GMP) (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ในกรณีรมสารเมทิลโบรไมด์ (Fumigation) ไปสาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) และเครือรัฐออสเตรเลีย - ใช้สำหรับกรณีใช้ความเย็น (Cold treatment) ไปเครือรัฐออสเตรเลีย - ใช้สำหรับกรณีฉายรังสี (Irradiation) ไปสหรัฐอเมริกา – ใช้สำหรับกรณีสุ่มตรวจศัตรูพืชก่อนการส่งออกไปเครือรัฐออสเตรเลีย
  9. ใบรายงานการปฏิบัติงาน (ฉบับจริง 1 ฉบับ) โดยต้นฉบับพร้อมระบุรายละเอียดให้ชัดเจน สำหรับทุกประเทศ

โดยตลอดการดำเนินการมีค่าธรรมเนียม ดังนี้ 

  1. ค่าใบรับรองสุขอนามัยพืช 100 บาท
  2. ค่าป่วยการรับรองสุขอนามัยพืช ค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการ พ.ศ. 2553
  3. ค่าพาหนะในการเดินทาง เก็บตามที่จ่ายจริง

     สามารถนำไปยื่นได้ที่ กลุ่มงานกำจัดศัตรูพืชกักกัน กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร 10900 ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในวันและเวลาทำการ 

เบอร์ติดต่อ : 0 2940 6670 ต่อ 141 และ 142  

  

ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 

แหล่งที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล 

เบอร์ติดต่อ : 0 2612 6060

 


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,290,876