เปิดแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อกิจการเติบโต-ลดต้นทุนการผลิต-รักษ์สิ่งแวดล้อม

         

  หลังจากประชาคมโลกรวมถึงประเทศไทย มีเจตนารมณ์ร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยเมื่อการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP 27) ณ สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ว่าจะเดินหน้าจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2 องศาเซลเซียสให้ได้ภายใน ค.ศ. 2100 (ปี 2643) ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อครั้งการประชุม COP 21 (ปี 2558) ซึ่งจากข้อปฏิบัติระดับโลกสู่ภาคปฏิบัตินั้นในส่วนของประเทศไทย ภาคอุตสาหกรรมก็มีการดำเนินโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green industry) ตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวแล้ว 41,154 โรงงานจากจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 64,028 โรงงาน  

โดยข้อปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว มีข้อกำหนดดังนี้

       ระดับ 1 มีความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและเผยแพร่การสื่อสาร ซึ่งจะมีใบรับรองอายุ 1 ปี

       ระดับ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือมีนโยบายและจัดทำแผนงาน นำมาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล โดยจะมีใบรับรองอายุ 2 ปี 

       ระดับ 3 ระบบสีเขียว (Green System) คือมีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่มีการวางแผนนำไปสู่ภาคปฏิบัติ และมีการติดตามผล รวมทั้งทบทวนและรักษาระบบ ซึ่งจะมีใบรับรองอายุ 3 ปี 

       ระดับ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือมีนโยบายตามข้อกำหนดในระดับ 3 แต่เพิ่มด้านการสร้างวัฒนธรรมด้านสิ่งแวดล้อม และมีการรายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ โดยจะมีใบรับรองอายุ 4 ปี 

       ระดับ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือมีนโยบายตามข้อกำหนดในระดับ 4 แต่เพิ่มงานสานสัมพันธ์ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งจัดทำรายงาน และเผยแพร่ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีใบรับรองอายุ 5 ปี 


สำหรับการขอรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ประกอบด้วยดังนี้

       1. เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ผู้รับประทานบัตรเหมืองแร่ หรือกิจการได้รับการจดทะเบียนการค้าในการประกอบธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมหรือเหมืองแร่

       2. ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวมาก่อน ยกเว้นพ้น 6 เดือนมาแล้ว

       3. ต้องดำเนินงานสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

           อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่โรงงานอุตสาหกรรมสีเขียวจะได้รับ คือภาพลักษณ์ และทัศนคติที่ดีต่ออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ดี และการยอมรับระหว่างบุคคลกับชุมชนโดยรอบ ลดการใช้ทรัพยากร และพลังงานประหยัดต้นทุนการดำเนินธุรกิจสร้างโอกาสในการแข่งขัน เป็นต้น

หมายเหตุ : ทำ Infographic 5 ขั้นโรงงานอุตสาหกรรมสีเขียวได้ , ภาพโรงงานอุตสาหกรรมนำวัตถุดิบรีไซเคิลมาใช้,ภาพโรงงานใช้พลังงานทางเลือก

ที่มา: โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว กระทรวงอุตสาหกรรม

เบอร์โทรศัพท์: +66-2430-6999


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,291,858