มาเช็กวิธีการขึ้นทะเบียนและรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของไทย (T-VER) ต้องทำอย่างไรบ้าง
1. ดำเนินกิจกรรมของโครงการเป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีการดำเนินงานสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)
2. มีการดำเนินงานเข้าข่ายโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ต้องพิสูจน์ส่วนเพิ่มเติม (Positive List) หรือมีการดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ (Additionality) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กำหนด
3. สอดคล้องกับระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology) ตามที่คณะกรรมการ อบก. กำหนด
4. ประเมินศักยภาพการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของโครงการเป็นไปตามระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology)
5. ต้องได้รับการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการ อบก.
6. ใช้วิธีการติดตามผล และรายงานการลดก๊าซเรือนกระจกตามระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology)
การพิจารณารับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก
1. ดำเนินกิจกรรมของโครงการ T-VER เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีการดำเนินงานสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)
2. ติดตามผลการลด/กักเก็บก๊าซเรือนกระจก และเก็บข้อมูลโครงการ T-VER ตามที่ระบุในเอกสารข้อเสนอโครงการที่ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และหากมีการเปลี่ยนแปลงให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ อบก. กำหนด
3. ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ขอรับรอง ต้องคำนวณตามระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology) ตามที่ได้เสนอในเอกสารข้อเสนอโครงการที่ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และหากมีการเปลี่ยนแปลงให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ อบก. กำหนด
4. ต้องได้รับการทวนสอบ (Verification) จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการ อบก.
ที่มา : กลไกลดก๊าซเรือนกระจก
อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ
โทร 0 2141 9841
25 มกราคม 2565