ขยะพลาสติกยังคงเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายประเทศให้ความสำคัญ และมีการวางแผนให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญ เช่นเดียวกันประเทศไทย ที่มีการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ "ถุงพลาสติก" และกำหนดแผน โครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักให้คนไทย
โดยมีการกำหนด Roadmap (แผนที่นำทาง) การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 มี 2 เป้าหมาย คือ
และจากการรณรงค์การลด เลิกใช้พลาสติก และส่งเสริมให้เกิดการนำพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ ผ่านกิจกรรมรณรงค์ “ทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก”โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และโฟมบรรจุอาหาร ในพื้นที่ตลาดสดเทศบาลและเอกชน รวมถึงพื้นที่ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ กว่า 3,414 ล้านใบ หรือประมาณ 9,824 ตัน จากการเริ่มกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 – 31 ธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจกับปัญหาขยะพลาสติกมากยิ่งขึ้น และสร้างการมีส่วนร่วมให้กับประชาชน
จากความร่วมมือดังกล่าวทำ ได้มีการยกระดับการดำเนินงาน โดยร่วมกับเครือข่ายห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ รวม 90 บริษัท ทั่วประเทศ ร่วมงดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้วแบบใช้ครั้งเดียว “Everyday Say No To Plastic Bags” ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – ธันวาคม 2565 สามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบใช้ครั้งเดียว รวมทั้งสิ้น 14,349.6 ล้านใบ หรือ 81,531 ตัน และประชาชนกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยกับการรณรงค์ในเรื่องนี้
นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินกิจกรรมการรณรงค์การลด และเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอย่างต่อเนื่อง เช่น ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดทำตลาดสดต้นแบบ มาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ โครงการเปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน) ทำให้การใช้ถุงพลาสติกในภาพรวม ลดลง 43% หรือ 148,699 ตัน
ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อให้การดำเนินการต่อเนื่องจากแผนปฏิบัติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) ที่สิ้นสุดลงแล้ว โดยมีกรอบแนวคิดยกระดับการจัดการขยะพลาสติกให้ดีขึ้นกว่าเดิม ตามลำดับความสำคัญของการจัดการขยะรูปแบบใหม่ ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน การเลือกใช้สินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำ การใช้แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยผสมผสาน เพื่อให้มีการนําทรัพยากรกลับคืนจากของเสียให้มากที่สุด ในรูปแบบวัสดุรีไซเคิล และพลังงาน
โดยมีเป้าหมาย (1) ปริมาณขยะพลาสติกเป้าหมาย (ขวดพลาสติกทุกชนิด,ฝาขวด, บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว, ถุงพลาสติกหูหิ้ว และถ้วย/แก้วพลาสติก) ที่เข้าสู่ระบบฝังกลบขยะ ลดลงร้อยละ 100 (2) ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป้าหมาย เข้าสู่ระบบรีไซเคิล ร้อยละ 100 (3) ลดปริมาณขยะพลาสติกที่มีโอกาสหลุดรอดลงสู่ทะเล ร้อยละ 50
ข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
แหล่งที่มา : กรมควบคุมมลพิษ
เลขที่ 92 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
เบอร์ติดต่อ : 0 2298 2000