ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่รองรับขยะจำนวนมากจากประเทศอื่น เนื่องจากไม่มีมาตรการควบคุม หรือจำกัดการนำเข้า ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และราคาพลาสติกในประเทศ รัฐบาลจึงเห็นชอบการวางนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ส่วนหนึ่งเพื่อปลดล็อกปัญหาไทยเป็นที่รองรับขยะจากประเทศ
ทั้งนี้ได้กำหนดให้กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ และกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก ดังนี้
1. เมื่อสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ โดยให้กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกำหนดให้เศษพลาสติกเป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร
2. การนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่เขตปลอดอากร (ในช่วงปี 2566 - 2567) โดยจะอนุญาตเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม 14 แห่ง ที่กำหนด ได้แก่ โรงงานทั้งหมดที่ใช้เศษพลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกที่ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร นำเข้าไม่เกินความสามารถในการผลิตจริง รวม 372,994 ตัน ต่อปี ดังนี้
3. การนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่ทั่วไป (ในช่วงปี 2566 - 2567) ให้นำเข้าเฉพาะกรณีที่ไม่มีเศษพลาสติกในประเทศ หรือมีปริมาณไม่เพียงพอ กำหนดหลักเกณฑ์ เช่น ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ต้องแสดงหลักฐานว่า มีความจำเป็นในการนำเข้า และไม่สามารถหาได้ในประเทศ, นำเข้าได้ในปริมาณที่สอดคล้องกับกำลังการผลิต, นำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบเท่านั้น (ไม่รวมถึงการคัดแยก หรือย่อยพลาสติก), สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิต โดยไม่ต้องทำความสะอาด
อย่างไรก็ตามในช่วง ปี 2566 – 2567 ก่อนมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกมีผลบังคับใช้ จะต้องวางมาตรการควบคุมในช่วง 2 ปีนี้ ใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย
นอกจากนี้ ได้มีมาตรการลดผลกระทบ จากการห้ามนำเข้าเศษพลาสติก 4 ประเด็น ประกอบด้วย
ข้อมูล ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566
แหล่งที่มา : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เบอร์ติดต่อ : 0 2280 9000