นับเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย ภายหลังที่ คณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 มีมติรับรองให้ "โคราชจีโอพาร์ค (Korat Geopark)" ในจังหวัดนครราชสีมา เป็น UNESCO Global Geopark นับเป็นเมืองที่ 4 ของโลก ต่อจาก ประเทศอิตาลี เกาหลีใต้ และจีน
หัวใจสำคัญของจีโอพาร์ค (Geopark) หรืออุทยานธรณี คือพื้นที่ภูมิประเทศและแหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมทั้งแหล่งธรรมชาติอื่น ๆ และวัฒนธรรมสำคัญ ที่สัมพันธ์กับแหล่งธรณีวิทยา และมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม ทั้งการอนุรักษ์ ศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมบริหารจากล่างสู่บน (Bottom - up) เชื่อมโยงเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น
และภายหลังการรับรอง "โคราชจีโอพาร์ค" ของยูเนสโก ทำให้จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นดินแดนแห่ง "3 มงกุฎของยูเนสโก ( Korat The UNESCO Triple Heritage City)" รวม 3 แห่ง ประกอบด้วย
การประกาศรับรองนี้ ทำให้เกิดการอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา และก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในเชิงธรณีวิทยา สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สำหรับประเทศไทย มีอุทยานธรณีโลก 2 แห่ง โดยแห่งแรก คือ “อุทยานธรณีสตูล” (Satun Geopark) มีพื้นที่ครอบคลุม 4 อำเภอ ในจังหวัดสตูล ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอทุ่งหว้า อำเภอมะนัง และอำเภอละงู และ “โคราชจีโอพาร์ค” (Korat Geopark) ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมือง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2566
แหล่งที่มา : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เบอร์ติดต่อ : 0 2280 9000