“โรคลีเจียนแนร์” เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันจากสิ่งแวดล้อม เชื้อก่อโรคได้แก่เชื้อ Legionella pneumophila ได้รับเชื้อจากการปนเปื้อนของเชื้อมากับละอองน้ำ และเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจ โดยบริเวณ หรือสถานที่ที่ควรระวัง ได้แก่ บริเวณน้ำขังนิ่ง ถาดรองน้ำในระบบเครื่องปรับอากาศ ฝักบัวอาบน้ำ อ่างน้ำวน อ่างน้ำร้อน สระน้ำ และน้ำพุ
สำหรับอาการของโรค จะเริ่มมีอาการภายหลังรับเชื้อนาน 2 - 14 วัน โดยมีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ไอ คลื่นไส้อาเจียน โรคนี้สามารถหายได้เองภายใน 2 - 5 วัน แต่หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคนี้มักพบในนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักค้างในโรงแรม ซึ่งในต่างประเทศได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรที่ทําหน้าที่เฝ้าระวังปัญหาที่เกิดจากโรคลีเจียนแนร์ โดยทําหน้าที่เผยแพร่รายชื่อโรงแรมที่มีประวัติการแพร่ระบาดของโรคให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทําให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวอย่างมาก โรคนี้พบอุบัติการณ์ของโรคในประเทศแถบทวีปยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย มีอัตราป่วยตาย ร้อยละ 15 - 20
สำหรับประเทศไทย หลังจากเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ โดยไม่ต้องกักตัว ตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด - 19 สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ได้วางแนวทางพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคลีเจียนแนร์ ในผู้ประกอบการโรงแรมพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้แทนสมาคมโรงแรมไทย ผู้บริหารโรงแรม เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบน้ำใช้ ระบบปรับอากาศของโรงแรม และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้รับรู้สถานการณ์โรคลีเจียนแนร์ นโยบายการป้องกันควบคุมโรค วิธีทำลายเชื้อในห้องพักและสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติ ตามแนวทางมาตรการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ ประเภทโรงแรม ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด
โดยสถานประกอบการประเภทโรงแรม ได้ร่วมมือป้องกันโรคนี้ โดย
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มี.ค. 2566
แหล่งที่มา : สำนักนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 88/20 หมู่4 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
เบอร์ติดต่อ : 0 2590 1000
ข้อมูลเพิ่มเติม 1
ข้อมูลเพิ่มเติม 2