คู่มือการลงทุนในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภูมิภาค

            รัฐบาลประกาศแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบใหม่ภายใต้ชื่อเรียกว่า “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภูมิภาค” ซึ่งแบ่งตามพื้นต่าง ๆ โดยนำเอาอัตลักษณ์ความโดดเด่น และจุดแข็งของแต่ละพื้นที่เป็นจุดขายพร้อมกับนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาต่อยอดเพื่อขยายโอกาสการค้าการลงทุนนำไปสู่การกระจายอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้อย่างทั่วถึงสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนสร้างความมั่นคงในพื้นที่ และเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันที่สามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านโดยได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ภูมิภาค ดังนี้

1. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor : NEC-Creative LANNA) 

  • ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และลำพูน มุ่งพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน
  • ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 

2. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor : NeEC-Bioeconomy) 

  • ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย โดยมุ่งพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต 
  • ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร  

3. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (Central-Western Economic Corridor : CWEC) 

  • ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม มุ่งเน้นพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำด้านอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ กทม. และพื้นที่โดยรอบ และ EEC
  • ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

4. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) 

  • ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มุ่งเน้นพัฒนาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ ในการเชื่อมโยงการค้า และโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน (BIMSTEC) เป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ และการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง และเพื่อยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ 
  • ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) 

มาตรการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ มีองค์ประกอบการ 5 ด้าน ดังนี้ 

1) การให้สิทธิประโยชน์ และการอำนวยความสะดวกการลงทุน 

2) การพัฒนาห่วงโซ่การผลิต และบริการ 

3) การวิจัยและพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี 

4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 

5) การพัฒนาแรงงาน และสนับสนุนผู้ประกอบการ


มาตรการส่งเสริมการลงทุน และสิทธิประโยชน์

● มาตรการทางภาษี 

  • กลุ่ม A1+ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 2 ปี (มีเงื่อนไข HRD หรือ R&D)
  • กลุ่ม A1-A4 ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% เพิ่มอีก 3 ปี 
  • ยกเว้นอาการขาเข้าเครื่องจักร
  • ยกเว้นอาการขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก

● มาตรการมิใช่ภาษี 

  • การถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม
  • การนำเข้าผู้เชี่ยวชาญต่างชาติได้
  • อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ
  • มีการฝึกอบรมแรงงานไทย และต่างด้าว 

หลักเกณฑ์การขออนุญาตโครงการ

  • เป็นโครงการที่มีประเภทกิจการให้การส่งเสริมอยู่ขณะยื่นเรื่อง และพร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามประเภทกิจการ
  • มีเงินทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน)
  • ต้องใช้กรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย
  • ลงทุนเครื่องจักรใหม่ทั้งสายการผลิต
  • มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 ใน โครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยายพิจารณารายกรณี
  • ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน กิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10% ของรายได้
  • มีมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน

1.ช่องทางการยื่นคำขอ

  • ผ่านระบบการยื่นคำขอ Online : www.boi.go.th ระบบ E-Investment สำหรับคำขอตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนปกติ
  • ยื่นเป็นเอกสารที่สำนักงาน/ระบบงานรับส่งเอกสารออนไลน์ (E-Submission) สำหรับมาตรการ หรือนโยบายพิเศษต่าง ๆ 
  • One Start One Stop Investment Center : OSOS   

2.เอกสารประกอบการยื่นคำขอ : 

     2.1 แบบคำขอรับการส่งเสริม จำนวน 2 ชุด 

     กรณียื่นคำขอในนามบุคคลธรรมดา : แสดงบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางของผู้ขอรับการส่งเสริม

     กรณียื่นคำขอในนามนิติบุคคล : 

● สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับล่าสุด มีอายุไม่เกิน 6 เดือน

● สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับล่าสุด (บอจ.5) หรือรายงานการกระจายการถือหุ้น

● สำเนางบการเงินปีล่าสุด (ถ้ามี)

     กรณีมีการมอบอำนาจ : 

● หนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรแสตมป์แล้ว

● สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

● แสดงบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางของผู้รับมอบอำนาจ


สถานที่ติดต่อ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 555 ถนน วิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

โทรศัพท์ : 0 2553 8111 โทรสาร : 0 2553 8315

อีเมล :   

สอบถามข้อมูล head@boi.go.th  

สารบรรณกลาง saraban@boi.go.th

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 555
เบอร์โทรศัพท์ : 02-553-8111


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,296,547