สธ. ออกคู่มือกัญชาสำหรับนักท่องเที่ยว (มาตรการสิ่งที่ทำได้ ทำไม่ได้)

สธ. ออกคู่มือกัญชาสำหรับนักท่องเที่ยว

     อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชีย ที่ปลดล็อก "กัญชา" ออกจากรายการยาเสพติดให้โทษ จึงได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชา แม้จะให้ใช้กัญชาได้ แต่กระทรวงสาธารณสุข ก็ย้ำว่า "กัญชา" ยังจำกัดเฉพาะประโยชน์ทางการแพทย์ สุขภาพและเศรษฐกิจ ยังไม่สนับสนุนการนำไปใช้เพื่อสันทนาการ  และได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขหลายฉบับมาควบคุมให้มีการใช้กัญชาในทางที่ถูกต้อง เช่น กลิ่นและควันเป็นเหตุรำคาญ การควบคุมช่อดอกกัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม การผลิต แปรรูป จำหน่าย ต้องมีการขออนุญาต เพื่อไม่ให้เกิดการนำไปใช้ในทางที่ผิด ส่วนการนำมาทำเป็นอาหาร จะไม่อนุญาตให้ใช้ช่อดอกกัญชา และอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาจะต้องมีการติดป้ายประกาศบอกให้ผู้บริโภคทราบ รวมถึงต้องมีคำเตือนผู้บริโภคด้วย

     สถาบันกัญชาทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำคู่มือสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของกัญชาในไทย สำหรับนักท่องเที่ยว เบื้องต้นจัดทำเป็นฉบับออนไลน์ชื่อ "10 Things Tourists need to know about cannabis in Thailand" หรือ "10 สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องรู้เกี่ยวกับกัญชาในประเทศไทย" เป็นภาษาอังกฤษผ่านเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข (www.moph.go.th) และกำลังจัดทำเป็นภาษาอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น รัสเซีย เป็นต้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวกลุ่มหลักได้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง

สำหรับข้อคู่มือนักท่องเที่ยว กระทรวงสาธารณะสุขออกคู่มือปฏิบัติ 10 ข้อ ประกอบด้วย 

  1. ไม่อนุญาตให้นำเข้าและนำออกเมล็ดหรือส่วนของต้นกัญชาจากประเทศไทยเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนบุคคล (Carrying Seeds Or Parts Of The CANNABIS Plant From And To Thailand For Personal Purposes Are Not Permitted) 
  2. สามารถปลูกกัญชาได้ แต่ต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน "Plook Ganja" หรือ เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (CANNABIS Cultivation Is Legal But Registering In The Food And Drug Administration's "Plook Ganja" Application Or Through Government Website Is Required) 
  3. ใช้ช่อดอกกัญชาเพื่อการวิจัย ส่งออก ขาย และแปรรูปเพื่อการค้าได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากทางการอย่างเป็นทางการ (Using CANNABIS Flower Buds For Research, Export, Sale, And Processing For Commercial Purposes Requires Official Permit)
  4. ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรใช้กัญชา ยกเว้นภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ (Individuals Under 20 Years Old, Pregnant Women And Breastfeeding Women Are Not Eligible To Use CANNABIS Except Under The Supervision Of Health Professionals)
  5. การสกัดกัญชาที่มีสาร THC มากกว่า 0.2% ต้องได้รับอนุญาต (Possession Of Extract Containing More Than 0.2% THC And Synthetic THC Requires Permission)
  6. ร้านอาหารที่จำหน่ายเมนูส่วนผสมของกัญชาจะต้องได้รับอนุญาต (CANNABIS Contained Dishes Are Available In Authorized Restaurants)
  7. ผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชาที่ผ่านการรับรองสามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทางเฉพาะ (Approved CANNABIS Health Products Are Accessible Through Specific Channels)
  8. การสูบกัญชาในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงโรงเรียนและศูนย์การค้า ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย (Smoking CANNABIS In Public Spaces, Including Schools And Shopping Malls, Is Illegal)
  9. หลีกเลี่ยงการขับรถหลังบริโภคอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ (Avoid Driving After Consuming Food Or Health Products Containing CANNABIS)
  10. ผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงจากการบริโภคกัญชา ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษา (Those Who Have Serious Undesirable Health Outcomes From Consuming CANNABIS Should Promptly See Doctors For Treatment)

หมายเหตุ : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220713131026126

https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2792

https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/184046/


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,294,258