โครงการพัฒนาพื้นที่รอบระบบขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD) เป็นหลักการที่รัฐบาลต้องการศึกษาพื้นที่เมือง หรือชุมชน ตามแนวโครงข่ายรถไฟทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมือง และจัดสรรที่ดินโดยรอบให้เกิดประโยชน์ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างคมนาคม ภายใต้โครงการ “ศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง”
จังหวัดชลบุรี ถูกเลือกเป็นหนึ่งในเมืองต้นแบบ TOD จากการเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจและท่องเที่ยวของภูมิภาค และพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยกำหนดแนวทางพัฒนาเมือง TOD พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟพัทยา ส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูงเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ “ศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ของพัทยา”
สำหรับการแบ่งพื้นที่พัฒนาตามแนวทาง TOD แบ่งเป็น 6 โซน ได้แก่
โซนที่ 1 MICE City พัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานพาณิชยกรรม รองรับศูนย์กลางการค้า และบริการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้สถานี เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม ศูนย์การประชุม เพื่อบริการนักท่องเที่ยว และผู้เดินทางติดต่อธุรกิจ
โซนที 2 Livable City พื้นที่พัฒนาที่อยู่อาศัย เช่น อะพาร์ตเมนต์ให้เช่า คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร ด้วยรูปแบบสันทนาการ เพิ่มศักยภาพการอยู่อาศัย
โซนที่ 3 Creativety Economy พื้นที่พัฒนาย่านพาณิชยกรรมในลักษณะอาคารสำนักงาน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และบริการครบวงจร
โซนที่ 4 Active District พื้นที่พัฒนาย่านพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน มีทั้งศูนย์การค้า ศูนย์ค้าปลีก ธุรกิจบริการรูปแบบใหม่
โซนที่ 5 Park Society เพิ่มพื้นที่สีเขียว และพื้นที่นันทนาการ รองรับนักท่องเที่ยวที่มาประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) หรือคนในชุมชนใช้ทำกิจกรรมร่วมกัน
โซนที่ 6 Society District พื้นที่สนับสนุนกิจกรรม รวมถึงธุรกิจบริการรูปแบบใหม่ เช่น ศูนย์การแพทย์และบริการด้านสาธารณสุข ศูนย์การเรียนรู้และการศึกษา
แนวทางการพัฒนาโครงการ TOD เมืองต้นแบบ กำหนดเป็น 4 ระยะ ตั้งแต่ ปี 2564-2580 ขณะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดขอนแก่นถูกคัดเลือกให้เป็นจังหวัดนำร่องของโครงการพัฒนา TOD เมืองต้นแบบ เช่นกัน
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
เบอร์โทรศัพท์: +66 2033 8000