เรือพระราชพิธีในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค วิจิตรศิลป์แห่งความภาคภูมิใจของไทย

ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 นี้ จะมีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ใช้เรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ โดยเรือทั้งหมดจะจัดเป็น 5 ริ้วขบวน มีความยาวประมาณ 1,200 เมตร และกว้าง 90 เมตร พร้อมกำลังพลประจำเรือจำนวน 2,200 นาย

เรือพระราชพิธีที่สำคัญมีดังนี้

เรือพระที่นั่ง 4 ลำ :

        1. เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

    • เป็นเรือที่ประทับ มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
    • สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6
    • มีโขนหัวเรือเป็นรูปหงส์ลงรักปิดทองและประดับกระจก มีความยาว 44.40 เมตร กว้าง 3.17 เมตร และลึก 0.94 เมตร
    • ได้รับการยกย่องเป็นเรือมรดกโลกจากองค์การเรือโลก แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2535

         2. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

    • เป็นเรืออัญเชิญผ้าพระกฐินประดิษฐานเหนือบุษบก
    • โขนเรือเป็น “พญาอนันตนาคราช” มีลักษณะสีเขียวและสีแดง มีความยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร และลึก 0.31 เมตร

         3. เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

    • เป็นเรือที่ประทับของพระบรมวงศ์
    • ลักษณะโขนเรือจำหลักและปิดทองเป็นรูปพญานาคจำนวนมาก มีความยาว 45.50 เมตร กว้าง 3.15 เมตร

         4. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ

    • เป็นเรือพระที่นั่งสำรอง
    • สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 9 เพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
    • ทำจากไม้ตะเคียนทอง มีความยาว 44.3 เมตร กว้าง 3.2 เมตร และมีโขนเป็นรูปพระนารายณ์ประทับยืนบนหลังพญาครุฑ

เรือรูปสัตว์และเรืออื่น ๆ นอกจากเรือพระที่นั่งแล้ว ยังมีเรือรูปสัตว์ 8 ลำ และประเภทอื่น ๆ รวม 52 ลำ ที่มีบทบาทสำคัญในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น

เรือคู่ชัก เรือพิฆาต เรือประตูหน้า และเรือแซง ซึ่งแต่ละลำมีความหมายและความสำคัญในประเพณีไทย

การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในปีนี้ ไม่เพียงเป็นการเฉลิมฉลองพระราชพิธีที่สำคัญ แต่ยังเป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีไทยที่งดงามให้คงอยู่ต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม : กองทัพเรือ

Link : https://www.navy.mi.th/

 


คำค้น

ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,284,409