เปิดลิสต์เขตเศรษฐกิจพิเศษในไทย รู้พื้นที่ - ลงทุนสุดปังสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

เปิดลิสต์เขตเศรษฐกิจพิเศษในไทย รู้พื้นที่ - ลงทุนสุดปังสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

        สำหรับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะหน้าใหม่ที่กำลังมองหาพื้นที่การลงทุน ที่มาคู่กับการได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งมาตรการด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีนั้น ประเทศไทยอาจเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ เนื่องจากจุดเด่นหลายประการ อาทิ สภาพพื้นที่การลงทุนโดยเฉพาะมีแนวชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานเดิมภายในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี เป็นต้น ทำให้รัฐบาลพัฒนาพื้นที่การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ มาตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 15 แห่ง แบ่งได้ดังนี้ 

invest-investment-financial-income-profit-costs-concept.jpg

  • เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย ตาก มุกดาหาร หนองคาย นครพนม สระแก้ว ตราด กาญจนบุรี สงขลา และนราธิวาส  
  • เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกซึ่งเป็นที่รู้จักกว่า 30 ปี หรือที่เรียกว่า อีสเทิร์นซีบอร์ด รวมทั้ง ยังมีโครงการมีการพัฒนา “เมืองแห่งนวัตกรรม” หรือเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้เป็น “ซิลิคอนวัลเลย์” ของเมืองไทย และ “เมืองใหม่อัจฉริยะด้วยนวัตกรรม” หรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)
  • ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ได้แก่
    • ภาคเหนือ (Northern Economic Corridor : NEC-Creative LANNA) ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เพื่อเป็นพื้นที่ลงทุนด้านการพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor : NeEC – Bioeconomy) ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุดรธานี และหนองคาย เพื่อพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ
    • ภาคกลาง-ตะวันตก (Central-Western Economic Corridor : CWEC) ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี เพื่อพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำในด้านอุตสาหกรรมเกษตรการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูงระดับมาตรฐานสากล เชื่อมโยงกรุงเทพฯ โดยรอบ และอีอีซี
    • ภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ประกอบด้วยจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้า และโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศและประเทศในภูมิภาค ฝั่งทะเลอันดามัน เป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง รวมทั้ง เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวระดับนานาชาติ
  • เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) ตั้งอยู่ใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาญจนบุรี นราธิวาส หนองคาย นครพนม ตราด สงขลา ตาก สระแก้ว และมุกดาหาร เพื่อเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงเพื่อนบ้าน

ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดนี้มีสิทธิประโยชน์ที่หลากหลายตอบโจทย์นักลงทุนทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี ที่รัฐบาลไทยหมายมั่นนำนักธุรกิจทั้งชาวไทยและโดยเฉพาะชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยในพื้นที่แบบตัว K ให้ความสำคัญทั้งขาบน คือ การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และขาล่างยกระดับเศรษฐกิจฐานรากไปพร้อม ๆ กัน

ที่มา : Open Development Thailand (ODT)


ความคิดเห็น


ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,289,230