หลายคนอาจสงสัยว่า ใบกำกับภาษีมีกี่ประเภท และมีรูปแบบแตกต่างกันอย่างไรบ้าง กรมสรรพากร ได้ระบุข้อมูลและรายละเอียด ประเภทของใบกำกับภาษี ดังนี้
1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
3. เอกสารอื่นที่ถือเป็นใบกำกับภาษี
สำหรับการออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บ หรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง
สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่เป็นผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการ ต้องเรียกใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และหากผลการคำนวณภาษีปรากฏว่า ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ถือเป็นเครดิตภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่คำนวณภาษีนั้น และหากในเดือนภาษีที่นำเครดิตภาษีไปชำระ ยังมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่อีก มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนถัดไป มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี สำหรับเดือนภาษีนั้น
ข้อมูล ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2565
แหล่งที่มา : กรมสรรพากร 90 ซอยพหลโยธิน 7 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
เบอร์ติดต่อ : 0 2272 8000