การเดินทางมาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายของกลุ่มคนต่างด้าว มีการกำหนดประเภทบุคคลคนต่างด้าวไว้ 4 ประเภท ที่มีสิทธิขออนุญาตทำงานในไทยได้มีดังนี้
1.ประเภทชั่วคราว คือ คนต่างด้าวทั่วไป (มาตรา 7) มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) | |
2. ประเภทส่งเสริมการลงทุน คือ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติปิโตเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม (ตามมาตรา 10) | |
3. คนต่างด้าว ตามมาตรา 12 มี 4 กรณี คือ | |
3.1 คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใดแทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ | |
3.2 คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร เช่น พวกญวนอพยพ ลาวอพยพ เนปาลอพยพ เมียนมาพลัดถิ่น หรือคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 | |
3.3 คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2539 หรือตามกฎหมายอื่น เช่น บุคคลที่เกิดภายหลังวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฎิวัติฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ | |
3.4 คนต่างด้าวโดยผลของการถูกถอนสัญชาติ ตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 | |
4. ประเภทตลอดชีพ หมายถึง คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 322 ข้อ 10 (1) มีสาระสำคัญเกี่ยวกับใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าว ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ให้ใช้ได้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวนั้น เว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่ |
ที่มา : สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
เบอร์โทรศัพท์ : 063 663 6663