จากแนวโน้มนักลงทุนต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพราะปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศและสภาพภูมิศาสตร์ ทำให้ภาคธุรกิจมองหาการบริหารความเสี่ยงในการผลิตของตัวเอง จึงมองประเทศที่เป็นกลาง ๆ อย่างประเทศไทยที่นับเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการตั้งฐานการผลิต ซึ่งในปีนี้ ( ปี2566 ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุน 5 ปี ( ปี 2566 – 2570 ) ผ่าน 9 มาตรการ หนึ่งในนี้หากตรวจสอบภาคการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีการกำหนดประเภทกิจการที่เปิดให้การส่งเสริมใหม่ โดยมีสิทธิประโยชน์น่าสนใจ โดยเฉพาะ กลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงขั้นสูง อาทิ
กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า เช่น การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles : FCEV) การผลิตอุปกรณ์สำหรับระบบเซลล์เชื้อเพลิง สถานีบริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping Station)
กิจการเกี่ยวกับพลังงานใหม่ เช่น การผลิตไฮโดรเจนจากน้ำโดยใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง เช่น Green Ammonia การผลิตไฮโดรเจนจากไฮโดรคาร์บอน หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล และการผลิตพลังงานไฟฟ้า/ไอน้ำจากไฮโดรเจน
กิจการผลิตอาหารแห่งอนาคต เช่น Novel Food, Organic Food, อาหารที่มี Health Claim
กิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอวกาศ : เช่น การผลิตอุปกรณ์ซ่อมบำรุงและงานบริการภาคพื้น การผลิตชิ้นส่วน Mechanical / Electronic Parts สำหรับดาวเทียมหรือวัตถุอวกาศรูปแบบต่าง ๆ การพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์เกี่ยวกับดาวเทียมและสถานีภาคพื้นดิน บริการนำส่งวัตถุสู่อวกาศ หรือกิจการผลิตระบบควบคุมภารกิจนำส่ง
ซึ่งกิจการทั้งหมดเหล่านี้ มีสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ( กลุ่ม A1+ ) ตั้งแต่ 10 - 13 ปี ยังไม่นับรวมสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อาทิ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอาการขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก หรือ มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ก็มีการให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ ถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการได้ แต่มีเงื่อนไขว่าการลงทุนที่เกิดขึ้นจะต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ประเทศไทยด้วย
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ : 14 ธันวาคม 2565
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 555
เบอร์โทรศัพท์ : 02-553-8111